Science

รายวิชาวิทยาศาสตร์



บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของโครงงาน เพื่อหาสูตรที่เหมาะสมการทำกระดาษสาจากใบเตยหอม โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษโรเนียวและกระดาษกล่องเป็นส่วนผสม และเพื่อเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา วัสดุที่ใช้ทดลอง  ได้แก่ สีชนิดต่าง ๆ (สีย้อมผ้า สีผสมอาหารและสีโปสเตอร์) เยื่อกระดาษต่าง ๆ (กระดาษโรเนียว กระดาษกล่องและกระดาษ-หนังสือพิมพ์) ผลการทดลอง ปรากฏว่า กระดาษสาที่ผลิตจากใบเตยหอม กับกระดาษหนังสือพิมพ์ อัตราส่วน 200 : 50 กรัม เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด ในการทำ เป็นกระดาษสา รองลงมาคือ ใบเตยหอมกับกระดาษโรเนียว และใบเตยหอมกับกระดาษกล่อง ตามลำดับ โดยใช้ใบเตยหอม เป็นตัวควบคุม ( control ) และเพื่อเปรียบเทียบ สีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา ปรากฏว่า สีที่ใช้ผสมในการทำกระดาษสา ที่มีคุณภาพดีที่สุด ได้แก่ สีย้อมผ้า รองลงมาคือ   สีโปสเตอร์และสีผสมอาหาร ตามลำดับ โดยใช้ปริมาณสีของกระดาษ แต่ละประเภทที่เท่ากัน จำนวน 15 กรัม

วัสดุ  อุปกรณ์และวิธีดำเนินงาน
วัสดุ  อุปกรณ์
          วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง  กระดาษสาจากใบเตย  มีดังนี้
          1.   มีด
          2.   กระดาษหนังสือพิมพ์
          3.   กรรไกร
          4.   กระดาษโรเนียว
          5.   เครื่องปั่น
          6.   กระดาษกล่อง
          7.   ปลั๊กไฟ                
          8.   ตะแกรงไนล่อน ( เฟรม )
          9.   อ่างน้ำ 
          10.   กะละมัง
          11.   กะละมัง
          12.   สีโปสเตอร์
          13.   สีย้อมผ้า
          14.   ผ้าขาวบาง
          15.   สีผสมอาหาร
          16.   กระชอน
          17.   หม้อ
          18.   เตาไฟ
          19.   เครื่องชั่ง
          20.   พืชที่ใช้ทดลอง  ได้แก่  ใบเตยหอม

วิธีการทดลอง
           วิธีการทดลอง  แบ่งออกเป็น  3  ขั้นตอน
ขั้นตอนที่  1  การหาสูตรที่เหมาะสมในการทำกระดาษสาจากใบเตยหอม
ขั้นตอนที่  2  การฟอกขาวเยื่อกระดาษ
ขั้นตอนที่  3  การนำกระดาษสาที่ผลิตไปแปรรูปใช้ประโยชน์

ขั้นตอนที่  1  การหาสูตรที่เหมาะสมในการทำกระดาษสาจากใบเตยหอม 
การทดลองแบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม
          กลุ่มที่  1  ใบเตยหอม + กระดาษโรเนียว
          กลุ่มที่  2  ใบเตยหอม  + กระดาษกล่อง
          กลุ่มที่  3  ใบเตยหอม  + กระดาษหนังสือพิมพ์
          กลุ่มที่  4  กลุ่มควบคุมใบเตยหอม

กลุ่มที่ ใบเตยหอม 200 กรัม + กระดาษหนังสือพิมพ์ 50 กรัม
วิธีทำ 
          1.   นำใบเตยหอมจำนวน 1,000 กรัม มาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำใบเตยหอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
          2.   นำใบเตยหอมที่หั่นแล้วมาปั่นให้ละเอียดจนเกิดใย ซึ่งใช้เวลาในการปั่นประมาณ  3  นาที
          3.   นำใบเตยหอมที่ปั่นแล้วมาผสมกับกระดาษโรเนียวที่เตรียมไว้ในอัตราส่วน
200 : 50  ( ใบเตย 200 กรัม กระดาษโรเนียว 50 กรัม ) จากนั้นก็นำไปปั่นต่อประมาณ นาที
          4.   เมื่อปั่นเสร็จแล้วนำส่วนผสมที่ได้ไปใส่ตระแกรงไนล่อนขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว45 เซนติเมตร ( ขนาดตระแกรงขึ้นอยู่กับกระดาษที่ต้องการ ) จากนั้นนำไปร่อนในอ่างน้ำเพื่อให้เยื่อลอยตัวและกระจายตัวออกจากกันอย่างสม่ำเสมอ
          5.   นำตะแกรงไนล่อนไปตากแดดประมาณ วัน กระดาษสาจะแห้งติดกันเป็นแผ่นจึงลอกกระดาษสาออกจากตะแกรงไนล่อน

ผลการทดลอง       
 ตอนที่  1  การหาสูตรที่เหมาะสมการทำกระดาษสา       
             จากการทดลองคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองหาสูตรที่เหมาะสมกับการทำกระดาษสา  ได้ใช้กระดาษโรเนียว  กระดาษกล่องและกระดาษหนังสือพิมพ์  โดยมีใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม   ผลการทดลองปรากฏ  ดังตาราง  1

 ตาราง  1  แสดงผลการทดลองการผสมใบเตยหอมกับกระดาษชนิดต่าง ๆ
กลุ่ม
ประเภท
ปริมาณใบเตยหอม(กรัม)
ปริมาณกระดาษ(กรัม)
ผลการทดลอง
1
กระดาษโรเนียว
200
50
ดี
2
กระดาษกล่อง
200
50
ปรับปรุง
3
กระดาษหนังสือพิมพ์
200
50
ดีมาก
4
ใบเตยหอม(ตัวควบคุม)
200
-
พอใช้
  จากตาราง  1  พบว่า  กระดาษสาที่ทำจากใบเตยหอมกับกระดาษหนังสือพิมพ์   อัตราส่วน  200  :  50  กรัม  มีคุณภาพดีที่สุด  รองลงมา  คือ  ใบเตยหอมกับกระดาษโรเนียว  และใบเตยหอมผสมกระดาษกล่อง ตามลำดับโดยใช้ใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม ( control )

เกณฑ์การทดลองการผสมใบเตยหอมกับกระดาษชนิดต่าง ๆ 
          ดีมาก   หมายถึง   เยื่อกระดาษมีเนื้อละเอียด  ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
          ดี    หมายถึง   เยื่อกระดาษส่วนใหญ่มีเนื้อละเอียด  ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัวและประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
          พอใช้  หมายถึง   เยื่อกระดาษบางส่วนมีเนื้อละเอียด  ผิวเรียบสม่ำเสมอมีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน
          ปรับปรุง  หมายถึง   เยื่อกระดาษเนื้อไม่ละเอียด  ผิวไม่เรียบ  ไม่มีการจับตัว และประสานยึดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน

ตอนที่  2 การเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา
จากการทดลองคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา  ผลการทดลองปรากฏ  ดังตาราง  2 


ชนิดของสี
ปริมาณสีของกระดาษ         แต่ละประเภท
ผลการทดลอง
สีผสมอาหาร
15
พอใช้
สีย้อมผ้า
15
ดีมาก
สีโปสเตอร์
15
ดี
          จากตาราง  2  พบว่า  สีที่ใช้ผสมในการทำกระดาษสากระดาษสาที่มีคุณภาพดีที่สุด  ได้แก่  สีย้อมผ้า  รองลงมาคือ  สีโปสเตอร์และสีผสมอาหาร  ตามลำดับ 

เกณฑ์การเปรียบเทียบสีที่เหมาะสมการทำกระดาษสา 
          
ดีมาก           หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  มากกว่า ร้อยละ  95
          
ดี                 หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  ร้อยละ  85
          
พอใช้          หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  ร้อยละ  65
          
ปรับปรุง      หมายถึง     เนื้อสีกับเยื่อกระดาษผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  น้อยกว่า ร้อยละ  50


สรุปผลการทดลอง
             1.   กระดาษสาที่ผลิตจากใบเตยหอมกับกระดาษหนังสือพิมพ์  อัตราส่วน  200   : 50 กรัม  เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการทำเป็นกระดาษสา  รองลงมาคือ  ใบเตยหอมกับกระดาษโรเนียว  และใบเตยหอมกับกระดาษกล่อง  ตามลำดับโดยใช้ใบเตยหอมเป็นตัวควบคุม ( control )
            
               2.   สีที่เหมาะสมการทำกระดาษสาที่มีคุณภาพดีที่สุด  ได้แก่  สีย้อมผ้า  รองลงมาคือ  สีโปสเตอร์และสีผสมอาหาร  ตามลำดับ  โดยใช้ปริมาณสีของกระดาษแต่ละประเภทที่เท่ากัน  จำนวน  15  กรัม

ภาคผนวก


ภาพที่  1  


ภาพที่  2



ภาพที่  3



ภาพที่   4



ภาพที่  5



ภาพที่  6



วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน 



วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

1.ตู้เสื้อผ้าที่ทำด้วยไม้ มักจะถูกพวกแมลงต่างๆ มารบกวน เพื่อป้องกันความ ยุ่งยาก จากแมลงเหล่านี้ ใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันสน รองพื้นตู้ที่ติดกับพื้นห้องเอาไว้โดยรอบ จะทำให้แมลงหนีไป

2.ใช้ยาสีฟันขัดเครื่องใช้ที่ทำด้วยแสตนเลส เช่น ช้อนส้อม ชาม จาน โดยเฉพาะ บริเวณลวดลาย ที่ด้ามช้อนส้อม จะช่วยให้สะอาดขึ้น

3.ก้านดอกไม้สั้น ให้ใช้หลอดดูดน้ำหวานเสียบต่อจากปลายก้าน แช่ในน้ำ จัดใส่ แจกันเหมือนดอกไม้ ก้านยาว ดอกไม้จะดูดน้ำขึ้นไปตามหลอดดูด

4.ใช้น้ำสารส้มผสมกับเบียร์ทากระจกที่มัวเป็นฝ้า แล้วขัดด้วยกระดาษ หนังสือพิมพ์ กระจกจะใสเป็นเงา

5.แปรงทุกชนิด เมื่อใช้แล้วควรวางตะแคงข้าง หรือแขวนห้อย อย่าวางหงาย เพราะขนแปรงจะร่วงเร็ว

6.ชามหล่อขาตู้น้ำกับข้าว ควรหยดน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันขี้โล้เล็กน้อย จะกันยุง แมลง และมด ไต่บนผิวน้ำ ไปขึ้นตู้กับข้าว

7.รอยสนิมบนเสื้อผ้า สามารถลบออกได้ โดยใช้เกลือผสมน้ำมะนาว ถูทาก่อน ซักน้ำธรรมดา แล้วนำไปตาก ให้แห้งกลางแดด

8.ถ้าประตูฝืด มีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด แทนที่จะใช้น้ำมันหยด ให้ใช้น้ำสบู่เหลวๆ หยดลงบนบานพับ ความฝืดก็จะหายไป และสามารถล้างให้สะอาดได้ง่ายกว่าน้ำมัน

9.ถ้าล้างแก้วน้ำแล้ว ไม่สะอาดสมใจ ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างอีกครั้ง จะทำให้ แก้วใสขึ้น

10.น้ำที่ใส่ตุ่มไว้นานๆ อาจทำให้เกิดลูกน้ำได้ วิธีแก้ไม่ให้เกิดลูกน้ำ ให้เอาปูนแดง ที่ใช้กินกับหมาก ปั้นเป็นก้อนกลม และตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นจึงนำไปใส่ในตุ่มสัก 4-5 ก้อน น้ำในตุ่มจะไม่เป็นลูกน้ำอีกเลย